วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา "น.ส.เอ" (ตอบคำถาม)

ข้อที่ 1     นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ กับการใช้เทคโนโลยีในการตัดสินการกระทำ
                 ของแต่ละบุคคล (อธิบายเหตุผลประกอบ)

ตอบ         ไม่เห็นด้วย เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นซึ่งล้วนเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของแต่ละบุคคล ซึ่งการแสดงความคิดเห็นดังกล่าวจะเป็นไปตามข้อมูลที่บุคคลแต่ละคนได้รับซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลที่เป็นจริงและข้อมูลที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เนื้อหาของของเรื่องนั้นๆดูน่าสนใจมากขึ้น
                       ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงปีที่ผ่าน มีการแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายอย่างเห็นได้ชัด มีการปราศรัยของแต่ละฝ่ายอย่างดุเดือด ข้อมูลที่ใช้ล้วนยกข้อมูลที่เป็นไปในทางลบของฝ่ายตรงข้าม ข้อมูลดังกล่าวส่งผลต่อความคิดของแต่ละคนได้อย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้เกิดการตัดสินใจว่าจะเลือกเข้าข้างฝ่ายไหนในที่สุด
                       เหตุการณ์ของ ด.. เอ ก็เช่นกัน มนุษย์เราตัดสินการกระทำของบุคคลจากข้อมูลที่ตัวเองได้รับ ข้อมูลที่ได้หากเป็นข้อมูลที่ไม่มีมูลความจริงคือไม่มีหลักฐานหรือเป็นเพียงทัศนคติของบุคคลหลายๆคนแล้วนั้น ก็อาจจะส่งผลกระทบอย่างมากทั้งแก่ผู้เสพข้อมูลและผู้ถูกกล่าวหา
                       ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีในการตัดสินการกระทำของบุคคลจึงเป็นสิ่งที่ถือว่าไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพียงแต่ใช้เทคโนโยลีในการแสดงความคิดเห็น อันต้องคำนึงถึงหลักการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของแต่ละบุคคลด้วย




ข้อที่ 2      หากนักศึกษาเห็นด้วย แสดงความคิดเห็นว่าอนาคตการใช้เทคโนโลยีแบบนี้
                  จะเป็นอย่างไรต่อไป
ตอบ          -



ข้อที่ 3      หากนักศึกษาไม่เห็นด้วย แสดงความคิดเห็นถึงวิธีการแก้ไขปัญหา
                 การใช้เทคโนโลยีดังกล่าว

ตอบ         หนทางในการแก้ปัญหาคือการพัฒนาบุคคลผู้ใช้เทคโนโลยีรวมไปถึงสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ให้เป็นบุคคลที่สามารถวิเคราะห์และใช้วิจารณญาณในการเสพสื่อ รู้จักคิดและตัดสินด้วยหลักเหตุและผล อันต้องคำนึงหลักศีลธรรมและจริยธรรมเป็นหลัก

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

นวัตกรรมที่น่าสนใจ "ของดีภูกามยาว"

                                      "กระเป๋าเอกสารโน๊ตบุ๊ค "


           

                                         "จากใยกล้วยที่ดูเหมือนไร้ค่า
                            แต่ด้วยภูมิปัญญา สรรค์สร้างมาให้มีค่าอีกครั้ง"

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากใยกล้วย
ผ่านผีมืออันประณีตประสานกับภูมิปัญญาอันสร้างสรรรค์
นำมาสู่ผลิตภัณฑ์อันล้ำค่า ระดับ 5 ดาว
หนึ่งในของดี "ภูกามยาว" อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา


ข้อมูลผลิตภัณฑ์
รหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 560902-B003

รหัสโอทอป (OPC): 56090047

ผลิตภัณฑ์ (Product) กระเป๋าเอกสารโน๊ตบุ๊ค (5 ดาว ปี 2553)

รายละเอียดผลิตภัณฑ์

กระเป๋าเอกสารโน๊ตบุ๊ค (รหัสโอทอป 560900475301)(OPC53 PY5Stars)

สถานที่จำหน่าย

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรม-ภูกามยาว
165 หมู่ 13 ตำบลดงเจน กิ่งอำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา 56000
ติดต่อ : นางสาวจุฑามาศ เต็มสวัสดิ์
โทร : 08-1783-4279, 0-5442-2906
โทรสาร : 0-5442-2105
Email : juthamas_tem@yohoo.com

หมายเหตุ
     ภาพจากการคัดสรร OPC 2553 ระดับประเทศ

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
     เวปไซต์ ไทย ตำบล ดอทคอม : http://www.thaitambon.com/

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของความพิวเตอร์


แรกเริ่มมนุษย์ดำเนินชีวิตโดยไม่มีการบันทึกสิ่งใด มาจนกระทั่งมีการติดต่อค้าขายของพ่อค้าชาวแบบีลอน(Babylonian) การจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงบน clay tablets จึงได้ถือกำเนิดขึ้น และอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวนระหว่างการติดต่อซื้อขายก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเช่นกัน อุปกรณ์คำนวณในยุคแรกได้แก่ ลูกคิด(abacus)ซึ่งก็ยังคงใช้กันต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน

clay tablets (แผ่นดินเหนียว)

ลูกคิด (abacus) 
.....................................................................................................................................................

ประวัติคอมพิวเตอร์
ดำเนินมาถึง ปี พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Blaise Pascal (แบลส ปาสกาล)
ได้สร้างเครื่องกลสำหรับการคำนวณชื่อ pascaline 

Blaise Pascal

เครื่องกลสำหรับการคำนวณชื่อ pascaline
......................................................................................................................................................................

ต่อมาในปี พ.ศ. 2215 เครื่องกล pascaline ของ Blaise Pasca
ได้ถูกพัฒนาเพิ่มเติมโดย Gottfried Von Leibniz นักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มัน
โดยเพิ่มสามารถในการ บวก ลบ คูณ หาร และถอดรากได้
แต่ก็ไม่มีผู้ใดทราบว่าเครื่อง pascaline ที่ถูกพัฒนาเพิ่มเติมเครื่องนี้
มีความสามารถในการคำนวนแม่นยำเพียงใด


Gottfried Von Leibniz
.............................................................................................

ปี พ.ศ. 2336 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ Charles Babbage
ได้สร้างจักรกลที่มีชื่อว่า difference engine ที่มีฟังก์ชันทางตรีโกณมิติต่างๆ
โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ และและต่อมาก็ได้สร้าง analytical engine
ที่มีหลักคล้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปในปัจจุบัน
จากผลงานดังกล่าว Charles Babbage ถูกยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์
และเป็นผู้ริเริ่มวางรากฐานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

Charles Babbage

difference engine

analytical engine

..................................................................................................................

ปี พ.ศ. 2439 Herman Hollerith ได้คิดบัตรเจาะรูและเครื่องอ่านบัตร

Herman Hollerith

บัตรเจาะรู

.................................................................................................................

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2480 Howard Aiken
สร้างเครื่องกล automatic calculating machine ขึ้น
จุดประสงค์ของเครื่องกลชิ้นนี้ก็คือ เพื่อเชื่อมโยงเทคโนโลยีทั้งทาง electrical และ mechanical
เข้ากับบัตรเจาะรูของ Hollerith และด้วยความช่วยเหลือของนักศึกษาปริญญาและวิศวกรรมของ IBM
ทีมงานของ Howard ก็ประดิษฐ automatic calculating machine
สำเร็จในปี พ.ศ. 2487 โดยใช้ชื่อว่า MARK I
โดยการทำงานภายในตัวเครื่องจะถูกควบคุมอย่างอัตโนมัติ
ด้วย electromagnetic relays และ arthmetic counters
ซึ่งเป็น mechanical  ดังนั้น MARK I จึงนับเป็น electromechanical computers

Howard Aiken

MARK I

...........................................................................................................

และต่อมา Dr. John Vincent Atanasoff และ Clifford Berry
ได้ประดิษฐเครื่อง ABC (Atanasoff-Berry Computer)
โดยใช้ หลอดสูญญากาศ (vacuum tubes)

เครื่อง ABC (Atanasoff-Berry Computer)

......................................................................................................


ปี พ.ศ. 2483 Dr.John W. Mauchy และ J. Presper Eckert Jr.ได้ร่วมกันพัฒนา electronic computer โดยอาศัยหลักการออกแบบบนพื้นฐานของ Dr. Atanasoff electronic computerเครื่องแรกมีชื่อว่าENIAC แม้จะเป็นelectronic computerแต่ ENIACก็ยังไม่สามารถเก็บโปรแกรมได้(stored program) จึงได้มีการพัฒนาเป็นเครื่อง EDVACซึ่งอาศัยหลักการ stored program สมบูรณ์และได้มีการพัฒนาเป็นเครื่อง EDSAC และท้ายสุดก็ได้พัฒนาเป็นเครื่อง UNIVAC(Universal Automatic Computer) ในเวลาต่อมา
ENIAC

EDVAC


EDSAC

UNIVAC

.................................................................................................................

ในท้ายที่สุด หากจะจำแนกประวัติคอมพิวเตอร์ตามยุคของคอมพิวเตอร์(Computer generations)
โดยแบ่งตามเทคโนโลยีของตัวเครื่องและเทคโนโลยีการเก็บข้อมูล
สามารถจะจัดแบ่งตามวิวัฒนาการได้ 4 ยุคด้วยกัน คือ 

ยุคแรก      
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของหลอดสูญญากาศ และการเก็บข้อมูลเป็นแบบบัตรเจาะรู

ยุคที่สอง  
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของทรานซิสเตอร์ และการเก็บข้อมูลเป็นแบบเทป
ลักษณะเป็นกรรมวิธีตามลำดับ(Sequential Processing) 
ยุคที่สาม   
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของไอซี(integrated circuit, IC) 
และการเก็บข้อมูลเป็นแบบจานแม่เหล็ก ลักษณะเป็นการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน
(Multiprogramming) และออนไลน์(on-line)

ยุคที่สี่       
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ เทคโนโลยีของวงจรรวมขนาดใหญ่ (Large-scale integration, LSI) 
ของวรจรไฟฟ้า ผลงานจากเทคโนโลยีนี้คือ ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor )
กล่าวได้ว่าเป็น "Computer on a chip" ในยุคนี้

จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาต่อๆ กันมาอย่างรวดเร็ว
ทำให้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
อาจกล่าวได้อีกว่าโลกของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นมี การเคลื่อนไหวเสมอ(dynamics)
แต่การรพัฒนาดังกล่าวกลับไม่ค่อยยืดหยุ่น (rigid) มาก



แผนการสอน วิชา ภาษาอังกฤษ สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้           ภาษาต่างประเทศ                                                                ชั้น ป.6
หน่วยการเรียนรู้ที่              7              เรื่อง       Food and Drinks                               เวลา   9   ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่     1              เรื่อง       Naming the food and drinks        เวลา   1   ชั่วโมง …………………………………………………………………………………………………..
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ต 1.1   เข้าใจกระบวนการฟังและการอ่าน  สามารถตีความเรื่องที่ฟัง  และอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ  และนำความรู้มาใช้อย่างมีวิจารณญาณ

ตัวชี้วัดที่
1.1 ป. 6/2         อ่านออก-เสียง ข้อความ นิทานและบท-กลอนสั้น ๆ

สาระสำคัญ
การเรียนรู้ชื่ออาหารและเครื่องดื่มเป็นภาษาอังกฤษเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ ในชีวิตประจำวัน

จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
1.             ออกเสียงคำศัพท์ที่เป็น ชื่ออาหาร  เครื่องดื่ม  และบอกความหมายได้
2.             ถาม ตอบ  เกี่ยวกับอาหาร  และเครื่องดื่มที่เป็นคำนามนับได้และคำนามไม่นับจำนวนได้

ด้านทักษะกระบวนการ
ให้ข้อมูลเรื่อง  อาหารและเครื่องดื่มได้

ด้านคุณธรรม จริยธรรม / ค่านิยม
1.             มีความขยัน สนใจ  ใฝ่รู้  ใฝ่เรียน
2.             มีความรับผิดชอบในการทำงาน

สาระการเรียนรู้
1.             ข้อความ  นิทาน  บทกลอน
2.             การออกเสียงพยัญชนะต้นคำ  พยัญชนะท้ายคำ   สระเสียงสั้น  สระเสียงยาว
3.             การออกเสียงเน้น  หนัก เบา ( Stress)  ในคำ  กลุ่มคำ
4.             การออกเสียงตามระดับเสียงสูง-ต่ำ(intonation) ในประโยค

สมรรถนะสำคัญ
1.             ความสามารถในการสื่อสาร
2.             ความสารถในการใช้ทักษะชีวิต

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.             มีความรับผิดชอบในการทำงาน
2.             มีความขยัน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน

ภาระงานหรือชิ้นงาน
1.             บัตรภาพ  บัตรคำ
2.             แถบประโยค
3.             ใบความรู้ที่  1 , 2    Food  and  Drinks 
4.             แบบฝึกทักษะที่  1  Complete  the  sentences
5.             Picture  Dictionary

กระบวนการจัดการเรียนรู้
กิจกรรมครั้งที่ 1   (เวลา 1  ชั่วโมง)
ขั้นนำ
-                   เล่นเกม             What  am  I ?    ทายชื่ออาหาร   เช่น           I  am  a  bun.
                                                There  are  some  pork , onions , tomato  and  lettuce  in  me.  What  am  I ?
ขั้นสอน
-                   ครูออกเสียงคำศัพท์ให้นักเรียนฟัง  พร้อมชูบัตรภาพหรือของจริง
              ให้นักเรียนดู  เรื่อง อาหาร  และเครื่องดื่ม
-                   ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับคำศัพท์  เรื่อง  อาหารและเครื่องดื่ม
-                   นักเรียนออกเสียงคำศัพท์ตามครู

ขั้นฝึกทักษะ / ภาระงาน / ชิ้นงาน
-                   นักเรียนจับคู่ฝึกออกเสียงคำศัพท์และบอกความหมายในใบความรู้ที่  1
-                   นักเรียนจับคู่ฝึกพูดถาม ตอบ  โดยดูภาพในใบความรู้ที่ 1  และใบงานที่ 1 เช่น
Is  this  a  pencil  ?  Yes , it  is.
Are  these  English  books ?   No , they   aren’t.
What  is  this / that  ?   It’s   a   ruler.
                                What   are   these / those  ?  They   are   notebooks
-                   นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่  2  และทำแบบฝึกทักษะที่ 

ขั้นสรุป
-                   นักเรียนอ่านแบบฝึกทักษะที่  1  ให้เพื่อนฟัง

สื่อ วัสดุ อุปกรณ์
1.             ของจริง
2.             บัตรภาพ  บัตรคำ
3.             แถบประโยค
4.             ใบความรู้ที่  1 , 2    Food  and  Drinks 
5.             แบบฝึกทักษะที่  1  Complete  the  sentences
6.             Picture  Dictionary

การวัดและการประเมินผล
วิธีการ
1.             สังเกตพฤติกรรม
2.             ประเมินทักษะ
3.             ตรวจผลงาน
เครื่องมือ
1.             แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน
2.             แบบประเมินทักษะ
3.             แบบประเมินคุณภาพชิ้นงาน